มลพิษทางอากาศ ปัญหาสุขภาพอันดับ 1 ของคนไทย

มลพิษทางอากาศ ปัญหาสุขภาพอันดับ 1 ของคนไทย

 

สารบัญ

มลพิษทางอากาศ

มลพิษทางอากาศ หมายถึง ภาวะอากาศที่มีสารเจือปนอยู่ในปริมาณที่สูงกว่าระดับปกติเป็นเวลานานพอที่จะทำให้เกิดอันตรายแก่มนุษย์ สัตว์ พืช หรือทรัพย์สินต่าง อาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ฝุ่นละอองจากลมพายุ ภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหว ไฟไหม้ป่า ก๊าซธรรมชาติอากาศเสียที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติเป็นอันตรายต่อมนุษย์น้อยมาก เพราะแหล่งกำเนิดอยู่ไกลและปริมาณที่เข้าสู่สภาพแวดล้อมของมนุษย์และสัตว์มีน้อย กรณีที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ได้แก่ มลพิษจากท่อไอเสียของรถยนต์จากโรงงานอุตสาหกรรมจากขบวนการผลิตจากกิจกรรมด้านการเกษตรจากการระเหยของก๊าซบางชนิด ซึ่งเกิดจากขยะมูลฝอยและของเสีย เป็นต้น โลกของเรามีชั้นของบรรยากาศห่อหุ้มอยู่โดยรอบหนาประมาณ 15 กิโลเมตร ชั้นของบรรยากาศดังกล่าวนี้ ประกอบด้วย ก๊าซไนโตรเจน ออกซิเจน ฝุ่นละอองไอน้ำ และเชื้อจุลินทรีย์ต่าง ๆ ในจำนวนก๊าซเหล่านี้ ก๊าซที่สำคัญที่สุดต่อการดำรงอยู่ของ สิ่งมีชีวิตในโลก คือ ก๊าซออกซิเจนและชั้นของบรรยากาศที่มีก๊าซออกซิเจนเพียงพอ ต่อการดำรงชีวิตมีความหนาเพียง 5 – 6 กิโลเมตรเท่านั้น ซึ่งปกติ จะมีส่วนประกอบ ของก๊าซต่าง ๆ ค่อนข้างคงที่ คือ ก๊าซไนโตรเจน 78.09% ก๊าซออกซิเจน 20.94% ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเฉื่อย 0.97%ในปริมาณคงที่ของก๊าซดังกล่าวนี้ เราถือว่าเป็นอากาศบริสุทธิ์แต่เมื่อใดก็ตามที่ส่วนประกอบของอากาศเปลี่ยนแปลงไปมีปริมาณ ของฝุ่นละออง ก๊าซ กลิ่น หมอกควัน ไอ ไอน้ำ เขม่าและกัมมันตภาพรังสีอยู่ในบรรยา กาศมากเกินไป เราเรียกสภาวะดังกล่าวว่า อากาศเสีย หรือ มลพิษทางอากาศ มลพิษทางอากาศ มีอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์  เมื่อมนุษย์และสัตว์หายใจเอาอากาศที่สกปรกมีฝุ่นละอองหมอกควันก๊าซต่างๆ ตลอดจนสารเป็นพิษเข้าไปในร่างกาย จะทำให้ร่างกายเจริญเติบโตไม่เต็มที่ และเป็นสาเหตุของโรคต่างๆ เช่น โรคเกี่ยวกับระบบหายใจ โรคมะเร็งที่ปอด โรคหลอดเลือดแข็ง โรคหัวใจ ปอด มึนงง ไอเป็นเลือด เหล่านี้เป็นต้น อากาศเสีย ทำให้การเจริญเติบโตของพืชชะงักงัน เพราะอากาศเสียเป็นอันตรายต่อระบบหายใจของพืชโดยตรง ดังจะเห็นได้จากต้นไม้ที่ปลูกที่มีการจราจรหนาแน่น มักจะแคระแกร็นมีการเจริญเติบโตช้าหรืออาจตายไปเลย

"<yoastmark

แหล่งกำเนิด มลพิษทางอากาศ

แหล่งกำเนิดที่สำคัญของประเทศไทย แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้

1.มลพิษทางอากาศ จากแหล่งกำเนิดจากยานพาหนะ ในบริเวณที่ใกล้ถนนที่มีการจราจรติดขัด จะมีปัญหาที่รุนแรงกว่าในบริเวณที่มีการจราจรคล่องตัว สารมลพิษที่ระบายเข้าสู่บรรยากาศที่เกิดจาก การคมนาคมขนส่ง ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน สารตะกั่วและก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ รถยนต์ ส่วนมากใช้น้ำมันเบนซินและดีเซล การเผาไหม้ของเครื่องยนต์ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไม่ต่างจากการเผาถ่านหิน รถยนต์ไม่ว่าจะใช้น้ำมันเบนซินหรือดีเซลล้วนปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซอื่น ๆ ที่ส่งผลต่ออุณหภูมิของโลก นอกจากนั้นไอเสียจากรถยนต์ยังปล่อยไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเราเช่นกัน แต่เรามีวิธีที่สามารถเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ โดยไม่ต้องใช้รถยนต์ได้ หลายเมืองทั่วโลกเริ่มตื่นตัวกับการเดินทางโดยไม่จำเป็นต้องใช้รถยนต์ ตั้งแต่การเดินเท้าบนทางเดินฟุตบาท ไปจนถึงระบบขนส่งสาธารณะที่ครอบคลุมและราคาไม่แพง นี่คือสิ่งที่รัฐบาลควรสนับสนุนให้มีขึ้น เพื่อที่ประชาชนจะได้ใช้งานขนส่งสาธารณะได้อย่างทั่วถึง และมากขึ้น ซึ่งจะเป็นทางออกให้คนใช้รถยนต์น้อยลง และทำให้เราได้อากาศ สุขภาพ และคุณภาพชีวิตที่ดีอีกด้วย แต่ในบางครั้งรถยนต์ยังคงจำเป็นต่อการเดินทาง เราควรริเริ่มที่จะคิดเกี่ยวกับรถยนต์ให้แตกต่างออกไปจากเดิม อาทิเช่น การใช้รถพลังงานไฟฟ้าแทนที่จะใช้รถน้ำมันเบนซินหรือดีเซล รถยนต์พลังงานไฟฟ้าไม่มีการปล่อยควันจากท่อไอเสีย แต่จะปล่อยคาร์บอนในกระบวนการผลิตรถยนต์และการผลิตไฟฟ้าที่ใช้เพื่อขับเคลื่อนรถยนต์ ถ้ารถยนต์ไฟฟ้าใช้พลังงานหมุนเวียนในการขับเคลื่อน อัตราการเกิดก๊าซเรือนกระจกจากรถยนต์พลังงานไฟฟ้านั้นก็จะเทียบเท่ากับศูนย์ แต่ประเทศที่ใช้ถ่านหิน อาทิเช่นประเทศโปแลนด์ก็ยังสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ด้วยการลดขนาดรถยนต์ลง ซึ่งจะส่งผลโดยตรงที่ทำให้การปล่อยมลพิษจากท่อไอเสียลดลงไปด้วย เนื่องจากมีการใช้พลังงานในการผลิตและขับขี่น้อยลง นอกจากนี้การใช้ขนส่งมวลชนแทนการใช้รถส่วนบุคคลก็จะช่วยลด มลพิษทางอากาศ ได้ด้วยเช่นกัน  

 

2.มลพิษทางอากาศ จากแหล่งกำเนิดจากโรงงานอุตสาหกรรม จากแหล่งกำเนิดอุตสาหกรรม เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงและกระบวนการผลิต ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพอากาศในบรรยากาศและอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนในชุมชน โดยทั่วไปหรือก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ เชื้อเพลิงที่ใช้สำหรับอุตสาหกรรมมีอยู่ 3 ประเภทใหญ่ ๆ ด้วยกัน คือ เชื้อเพลิงที่เป็นของแข็ง เชื้อเพลิงที่เป็นของเหลว ได้แก่ น้ำมันเตา และน้ำมันดีเซล และ เชื้อเพลิงที่เป็นก๊าซ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ และก๊าซ LPG ที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงชนิดต่าง ๆ ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ฝุ่นละออง ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน ซึ่งพบว่ามีปริมาณการระบายออกสู่บรรยากาศเพิ่มมากขึ้นทุกปตามปริมาณการใช้เชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้น ฝุ่นละออง (Suspended Particulate Matter : SPM) ฝุ่นละออง เป็นสารที่มีความหลากหลายทางด้านกายภาพ และองค์ประกอบอาจมีสภาพเป็นของแข็งหรือของเหลวก็ได้ ฝุ่นละอองที่มีอยู่ในบรรยากาศรอบ ๆ ตัวเรา มีขนาดตั้งแต่ 0.002 ไมครอน(เป็นกลุ่มของโมเลกุลที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นต้องใช้กล้องจุลทัศน์แบบอิเลกตรอน) ไปจนถึง ฝุ่นที่ ขนาดใหญ่กว่า 500 ไมครอน (ฝุ่นที่มองเห็นด้วยตาเปล่ามีขนาดตั้งแต่50ไมครอนขึ้นไป) ฝุ่นละอองที่แขวนลอย อยู่ในอากาศได้นานจะเป็นฝุ่นละอองขนาดเล็ก (ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางต่ำกว่า 10 ไมครอน) เนื่องจากมีความเร็วในการตกตัวต่ำ และจะแขวนลอยอยู่ในอากาศได้นานมากขึ้น หากมีแรงกระทำจากภายนอกเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น การไหลเวียน ของอากาศ กระแสลม เป็นต้น ฝุ่นละอองที่มีขนาดใหญ่ (ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่กว่า 100ไมครอน)อาจแขวนลอยอยู่ในบรรยา กาศได้เพียง 2-3 นาที แต่ฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็ก โดยเฉพาะขนาดเล็กกว่า 0.5 ไมครอน อาจแขวนลอยอยู่ในอากาศได้นานเป็นปีฝุ่นละอองในบรรยากาศอาจแยกได้เป็นฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นและแพร่กระจายสู่บรรยากาศจากแหล่งกำเนิดโดยตรงและฝุ่นละอองซึ่งเกิดขึ้น โดยปฎิกริยาต่าง ๆ ในบรรยากาศ เช่นการรวมตัวด้วยปฎิกริยาทางฟิสิกส์ หรือ ปฏิกริยาทางเคมี หรือปฎิกริยาเคมีแสง(Photochemical reaction)ฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นเหล่านี้จะมีชื่อเรียกต่างกันไปตามลักษณะการ รวมตัวฝุ่นละออง เช่น ควัน (Smoke) ฟูม (fume)หมอกน้ำ ค้าง (mist) เป็นต้น ฝุ่นละอองอาจเกิดจากธรรมชาติ เช่น ฝุ่นดิน ทราย หรือเกิดจากควันดำจากท่อไอเสียรถยนต์การจราจร และการอุตสาหกรรมฝุ่นที่ถูกสูดเข้าไปในระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิด อันตรายต่อสุขภาพ รบกวนการมองเห็น และทำให้สิ่งต่าง ๆ สกปรกเสียหายได้ในบริเวณ ที่พักอาศัยปริมาณฝุ่นละออง 30% เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ส่วนบริเวณที่อยู่อาศัยใกล้ถนนฝุ่นละออง 70-90% เกิดจากการกระทำของมนุษย์และ พบว่าฝุ่นละอองมีมีสารตะกั่วและสารประกอบโบไมด์สูงกว่าบริเวณนอกเมือง อันเนื่องมาจากมลพิษที่เกิดจากยานพาหนะ ฝุ่นละอองเมื่อแยกตามขนาด พบว่า 60% โดยประมาณ จะเป็นฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอนฝุ่นประเภทนี้เกิดจากรถประจำทางและรถบรรทุกที่ใชเครื่องยนต์ดีเซลบางส่วนมาจากโรง งานอุตสาหกรรมส่วนมากจะพบอยู่ทั่วไปในเขตเมืองเขตอุตสาหกรรม และเขตกึ่งชนบท หากพบในปริมาณที่สูงจะมีผลต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน เนื่องจากมีขนาดเล็กพอที่จะเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจส่วนล่างและถุงลมปอดของมนุษย์ได้เป็นผลให้เกิดโรคทางเดินหายใจโรคปอดต่าง ๆเกิดการระคายเคืองและทำลายเยื่อหุ้มปอด หากได้รับในปริมาณมากและเป็นเวลานานจะเกิดการสะสม ทำให้ เกิดพังผืดและเป็นแผลได้ ทำให้การทำงานของปอดลดลง ความรุนแรงขึ้นอยู่กับ องค์ประ กอบของฝุ่นละอองนั้น ส่วนฝุ่นขนาดใหญ่อีกประมาณ 40%ที่เหลือเกิดจากการก่อสร้างและการฟุ้งกระจายของฝุ่นจากพื้นที่ว่างเปล่าฝุ่นประเภทนี้ไม่มีผลต่อสุขภาพอนามัยมากนักเพียงแต่จะก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อทางเดินหายใจส่วนต้น และอาจเป็นเพียงการรบกวนและก่อให้เกิด ความรำคาญเท่านั้น   

แนวทางแก้ไขสภาวะมลพิษทางอากาศ

1) พยายามใช้เครื่องยนต์ที่ไม่ค่อยมี มลพิษทางอากาศ แก้ไขกระบวนการผลิต และลดมลพิษจากยานพาหนะ 2) ใช้รถขนส่งมวลชนเช่น รถเมล์ รถไฟฟ้า รถไฟไต้ดิน ให้มากขึ้น 3) ใช้รถยนต์ให้น้อยลง หากเดินได้หรือติดรถเพื่อนๆได้ก็ควรจะไปด้วยกัน 4) ช่วยกันสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีการเกษตร โดยนำวัสดุเหลือใช้มาใช้เป็นพลังงาน 5) จัดการระเบียบการเผ่าหญ้าหรือขยะมูลฝอย เผื่อลดการเผาไหม้ในที่โล่งๆ 6) ประชาชนควรช่วยรณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้ทุกคนเข้าใจในอันตรายที่เกิดขึ้น  

 

ตัวช่วยบรรเทาอาการจากมลพิษทางอากาศอย่างไร

มลพิษทางอากาศ ส่งผลกระทบต่อร่างกาย ซึ่งทำให้เราเป็นภูมิแพ้ และมีอาการ ไอ จาม คัดจมูก และน้ำมูกไหล ซึ่งเบื้องต้นเราสามารถบรรเทาได้ด้วยวิธีดังนี้

1.กลั้วคอ และล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ น้ำเกลือ มีฤทธิ์ทำความสะอาด และให้ความชุ่มชื้นกับเนื้อเยื่อภายในโพรงจมูก และลำคอ ซึ่งจะชะล้างสารก่อการระคายเคือง ที่อยู่ในจมูก และลำคอ แถมช่วยลดอาการระคายเคือง

2.ยาแก้แพ้ ยาแก้แพ้ ( Antihistamine ) เป็นยาที่ช่วยยับยั้งการหลั่งของ สารฮิสตามีน ( Histamine ) ซึ่งเป็นสารที่กระตุ้น ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เมื่อร่างกายเราได้รับสารที่ก่อให้เกิด อาการแพ้ อย่างฝุ่น ควัน หรือสารเคมี

3.ยาลดน้ำมูก ยาลดน้ำมูก ( Decongestants ) จะช่วยบรรเทาอาการมีน้ำมูก และลดอาการบวม ของเนื้อเยื่อในโพรงจมูก ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการคัดจมูก ยาลดน้ำมูก มีทั้งแบบเม็ด และแบบสเปรย์พ่นจมูก เราสามารถเลือกใช้ได้ตามสะดวก

4.ยาแก้ไอ การสูดดม มลพิษ ติดต่อกัน อาจก่อให้เกิดการระคายเคือง ภายใน ระบบทางเดินหายใจ จนทำให้เกิดอาการไอ โดยในเบื้องต้น อาจจะบรรเทาได้ด้วยการทาน ยากดอาการไอ ( Antitussive ) หากมีอาการไอไม่มีเสมหะ ที่เกิดจากการระคายเคืองทั่วไป

5.เครื่องฟอกอากาศ ( Air Pura ) เครื่องฟอกอากาศ ( Air Pura ) เป็น เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เหมาะสมกับการ บรรเทาอาการจากมลพิษทางอากาศได้ ซึ่งมันจะช่วยกรองมลพิษต่าง ๆ ที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และให้อากาศบริสุทธิ์กับเรา เหมาะแก่การที่เราอยู่ในบ้าน หรือในรถ เพราะบ้าน ใช่ว่าจะปลอดภัยต่อ ฝุ่น PM 2.5 เพราะเป็นฝุ่นขนาดเล็ก มันสามารถเข้าได้แน่นอน ดังนั้นการใช้ เครื่องฟอกอากาศ ก็เป็นตัวช่วยหนึ่งที่ดี  

สรุป

มลพิษทางอากาศไม่ใช่เรื่องของใครคนใดคนหนึ่ง เป็นเรื่องที่เราทุกคนต้องช่วยกัน วิธีการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่ระบุไว้นั้นเป็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก และทุกคนต่างร่วมกันเรียกร้องให้เกิดขึ้น พวกเราคือทางออกของวิกฤตมลพิษทางอากาศ ไม่ว่าจะเป็นใคร เราสามารถร่วมมือและแก้ไขปัญหาร่วมกันได้ และสามารถเริ่มทำได้ตั้งแต่ตอนนี้