ยุง ภัยร้ายที่ทำให้เกิดโรค “ชิคุนกุนยา”

ยุง ภัยร้ายที่ทำให้เกิดโรค “ชิคุนกุนยา”

        ยุง หรือ ยุงลาย ภัยร้ายทำให้เกิดโรคไข้ปวดข้อยุงลายเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่คนไม่ค่อยรู้จักซึ่งถูกแพร่กระจายโดยยุงลายสวย (Aedes albopictus) และยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) ชื้อไวรัสที่ถูกแพร่กระจายโดยยุงนั้นจะทำให้เกิดอาการปวดข้ออย่างรุนแรง ข้อติดขัด และมีไข้สูงเฉียบพลัน ชื่อของโรคชิคุนกุนยานั้น มาจากคำในภาษา Makonde หรือเรียกว่า “Kimakonde” ของแอฟริกาใต้ แปลว่า “การก้มตัวงอระหว่างเดิน” เพื่ออธิบายลักษณะการก้มตัวลงของคนที่ทุกข์ทรมานจากอาการปวดข้ออย่างรุนแรงนั่นเอง    ส่งผลกระทบต่อคนทุกเพศ ทุกวัยแม้กระทั่งเด็กเล็ก  มีอาการคล้ายคลึงกับโรคไข้เลือดออก แต่โรคไข้เลือดออกจะรุนแรงมากกว่า โรคชิคุนกุนยามักไม่เป็นอันตรายร้ายแรงต่อชีวิต แต่ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดข้อเรื้อรังต่อเนื่องเป็นเดือนหรือเป็นปี 

การติดต่อของโรคชิคุนกุนยา                                                                                                                               

     เป็นเชื้อไวรัสโดยที่มี ยุงลาย เป็นพาหะนำโรค   ซึ่งพบได้ทั่วไปทั้งในเมืองใหญ่และชนบท  มักระบาดในช่วงฤดูฝน หรือ บริเวณที่มีน้ำขัง  ทั้งนี้ยุงลายมักชุกชุมและออกหากินในช่วงกลางวันด้วย ทำให้เด็กๆ ที่ชอบออกมาเล่นนอกบ้านหรืออยู่ในโรงเรียน เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรค นอกจากนี้หากคุณแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นโรคชิคุนกุนยายังสามารถถ่ายทอดไปยังทารกได้อีกด้วย

ระยะฟักตัว 

      โดยทั่วไปประมาณ 1-12 วัน แต่ที่พบบ่อยประมาณ  2-3 วัน ระยะติดต่อ ระยะไข้สูงประมาณวันที่ 2 – 4 เป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือดมาก

 

ยุงลาย
ยุง หรือ ยุงลาย ภัยร้ายทำให้เกิดโรคไข้ปวดข้อยุงลายเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่คนไม่ค่อยรู้จักซึ่งถูกแพร่กระจายโดยยุงลายสวย

ยุงก่อเกิดโรคชิคุนกุนยา อาการคือ

      เนื่องจากโรคไข้เลือดออก และโรคชิคุนกุนยามี ยุงลาย เป็นพาหะเช่นเดียวกัน รวมถึงอาการที่แสดงออกยังคล้ายคลึงกัน  จึงอาจพบผู้ป่วยเป็นทั้ง 2 โรคพร้อมๆ กันได้ อย่างไรก็ตาม โรคชิคุนกุนยามีความรุนแรงน้อยกว่าโรคไข้เลือดออกมาก  ทั้งนี้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อชิคุนกุนยาจะมีไข้สูงขึ้นอย่างเฉียบพลันกว่าโรคไข้เลือดออก และระยะเวลาของไข้ก็สั้นกว่าเพียง 2 วันเท่านั้น ขณะที่ไข้เลือดออก จะเป็นไข้นานถึง 4 วัน  ส่วนใหญ่ไม่พบว่าผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยาเกิดอาการช็อค เพราะเชื้อชิคุนกุนยาไม่ทำให้ พลาสม่ารั่วออกนอกเส้นเลือด  หลังจากถูกยุงลายกัด และเมื่อครบระยะฟักตัว อาการจะแสดงออกดังนี้

  • ไข้สูงเฉียบพลัน และอาจสูงถึง 40 องศาเซลเซียส หลังจากนั้น 2-3 วัน ไข้จะเริ่มลดลง
  • ปวดข้อและเมื่อยกล้ามเนื้อ มีภาวะข้ออักเสบ โดยพบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก แต่สามารถหายเองได้ใน 2 สัปดาห์ ในผู้ใหญ่ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไปอาจมีภาวะปวดข้อเรื้อรังได้
  • ปวดศรีษะ
  • คลื่นไส้และอาเจียน
  • ท้องเสีย
  • เกิดผื่นแดงตามแขนขาหรือทั่วร่างกาย
  • ตาแดง
  • รับประทานอาหารไม่ได้
  • คลื่นไส้ อาเจียน และปวดศีรษะ
  • อ่อนเพลีย หรืออาจท้องเสีย

ยุง ก่อเกิดโรคชิคุนกุนยา การรักษาคือ

ปัจจุบันโรคนี้ยังไม่มียาเฉพาะสำหรับการรักษา รวมถึงไม่มีวัคซีนป้องกัน แต่โรคนี้สามารถหายเองได้ ดังนั้นวิธีการรักษาจึงเป็นการรักษาตามอาการ สิ่งที่ผู้ป่วยสามารถทำได้คือการดูแลตัวเองให้ดีโดย

  • พักผ่อนและนอนหลับอย่างเพียงพอ
  • ดื่มน้ำให้มากๆ อย่าให้ร่างกายขาดน้ำ
  • กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ผักและผลไม้ที่อุดมด้วยวิตามินและแร่ธาตุเพื่อให้ฟื้นตัวจากโรคได้เร็วยิ่งขึ้น และทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
  • เช็ดตัวด้วยน้ำสะอาดเป็นระยะเพื่อลดไข้
  • รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด

การป้องกันโรคชิคุนกุนยา

วิธีป้องกันโรคชิคุนกุนยาการป้องกันและควบคุมโรคชิคุนกุนยาจะเน้นที่การลดจำนวน ยุง ในพื้นที่ และป้องกันการโดนยุงกัด โดยการลดจำนวนแหล่งเพาะพันธุ์ยุงจะสามารถลดประชากรยุงได้เป็นอย่างมาก วิธีการง่ายๆ ที่สามารถทำได้ มีดังนี้

  • เก็บบ้านให้สะอาด ป้องกันไม่ให้มีมุมอับทึบเป็นที่เกาะพักของยุง
  • เทน้ำออกจากภาชนะ เช่น จานรองใต้ไม้กระถาง แจกัน กาละมัง และรางน้ำฝน
  • คลุมภาชนะใส่น้ำที่ไม่สามารถเทน้ำทิ้งได้ เช่น แทงค์น้ำ หรืออ่างเก็บน้ำ สำหรับการอุปโภคบริโภคในครัวเรือน
  • ควรให้เด็กเล็กนอนในมุ้งหรือห้องที่มีมุ้งลวดเพื่อป้องกันยุง
  • ให้เด็กสวมใส่เสื้อผ้าที่มิดชิด เช่น เสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวเพื่อป้องกันยุงกัด
  • กำจัดยางรถยนต์เก่าๆ ที่อาจถูกทิ้งไว้ข้างนอก
  • ทิ้งขยะในถุงพลาสติกแบบปิด และในภาชนะแบบปิด
  • ใช้ยาฆ่าแมลง เพื่อฆ่ายุงที่โตเต็มที่ หรือตัวอ่อนที่ยังไม่สมบูรณ์ บางเขตชุมชน และเมืองต่างๆ อาจมีการพ่นยาฆ่าแมลงด้วยเช่นกัน
  • ยุงที่ทำให้เกิดการติดเชื้อของโรคชิคุนกุนยา โดยส่วนมากมักจะเป็นยุงที่กัดตอนกลางวัน ซึ่งคนมักถูกกัดมากในช่วงใกล้ค่ำ แต่ยุงพวกนี้ยังมีการกัดในช่วงเวลากลางคืนเช่นเดียวกัน
  • ใช้เครื่องดักยุงภายในบริเวณบ้าน

สรุป

ถึงโรคชิกุนคุนยาอาจจะไม่อันตรายถึงชีวิตและมีความร้ายแรงน้อยกว่าโรคไข้เลือดออกก็ตาม แต่โรคภัยไข้เจ็บทุกโรคย่อมส่งผลเสียให้กับร่างกาย ทุกคนมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคชิคุนกุนยาโดยเฉพาะผู้ที่มีความต้านทานโรคต่ำ เช่น เด็กและผู้สูงอายุ  อาจเกิดผลแทรกซ้อนที่ยากแก่การรักษา ดังนั้น การป้องกันไว้ก่อนจึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัดด้วยการกำจัดแหล่งน้ำขัง ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ทาโลชั่นกันยุง สวมใส่เสื้อผ้าให้มิดชิด โดยเฉพาะในเด็กเล็ก ที่คุณพ่อคุณแม่ควรเฝ้าระวังและป้องกันลูกน้อยจากยุงลาย

แม้ว่า ยุงลาย เป็นพาหะตัวเล็กแต่อันตรายไม่เบา ฉะนั้นเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้คนในบ้านเป็นอันตราย มาป้องกันตั้งแต่เนิ่น ๆ ด้วยเครื่องดักยุง ผู้ช่วยกำจัดยุงแบบง่าย ๆ ไม่ต้องลงแรงไล่ให้เหนื่อย แถมยังเป็นวิธีกำจัดยุงที่มีประสิทธิภาพ เพียงเลือกให้เหมาะสมกับขนาดพื้นที่ ลักษณะการใช้งาน สำหรับใครที่กำลังมองหาตัวช่วยกำจัดยุง ลองหาเครื่องดักยุงมาลองใช้กันนะคะ นอกจากจะกำจัดยุงได้เยอะแล้วยังไม่มีสารเคมี ปลอดภัยกับทุกคนในครอบครัวแน่นอน  แถมเครื่องมีน้ำหนักเบา สามารถพกพาได้สะดวก ไร้เสียงรบกวน

 

ยุง
ยุง หรือ ยุงลาย ภัยร้ายทำให้เกิดโรคไข้ปวดข้อยุงลายเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่คนไม่ค่อยรู้จักซึ่งถูกแพร่กระจายโดยยุงลาย

 

 

 

website : smileshopint.com

FB : https://www.facebook.com/SmileShopInternational/

 

Leave a Reply

Your email address will not be published.