ไฟป่า และหมอกควัน กับปัญหาสุขภาพระยะยาว

ไฟป่า

ไฟป่า

สารบัญ

ไฟป่า คือ ไฟที่เผาไหม้ในบริเวณป่าและไม่สามารถควบคุมได้ โดยสามารถแบ่งสาเหตุออกได้เป็นสองรูปแบบใหญ่ๆ ด้วยกัน คือ

สาเหตุตามธรรมชาติ เช่น การลุกไหม้ด้วยตัวเองในสภาวะอากาศแห้งและร้อนจัด การเกิดฟ้าผ่าในบริเวณป่า หรือผลกระทบต่อเนื่องจากภูเขาไฟระเบิด
สาเหตุที่เกิดจากมนุษย์ เช่น การตั้งใจวางเพลิง การเผาเพื่อทำการเกษตร กองไฟหรือก้นบุหรี่ที่ดับไม่สนิท หรือประกายไฟจากสายไฟฟ้าและเครื่องจักร
แม้ว่าจุดกำเนิดของไฟป่าจะเกิดขึ้นจากไฟที่ไหม้ต้นไม้เพียงไม่กี่ต้น แต่จากจุดนั้นเป็นต้นไป ไฟป่าสามารถลุกลามไปได้อีกหลายร้อยตารางเมตร เพราะความร้อนจากไฟที่ไหม้จะแผ่ออกไปรอบทิศทาง และทำให้อุณหภูมิในบริเวณดังกล่าวสูงขึ้น จนกระทั่งถึงจุดที่เชื้อเพลิงอย่างซากต้นไม้หรือหญ้าแห้งสามารถลุกติดไฟได้เอง แม้ว่าเปลวไฟจะยังลามมาไม่ถึงก็ตาม

 

 “ไฟป่า” ที่เกี่ยวข้องกับปัญหา “หมอกควัน” และฝุ่น “PM2.5” มากกว่าที่เราคิด จากสถานการณ์ไฟป่าเชียงใหม่ที่กำลังสะเทือนโซเชียลอยู่ในขณะนี้
ภาพสถานการณ์ไฟป่าในพื้นที่บ้านศาลา ต.สะเมิงใต้ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ จากที่มีการโพสต์ภาพจากเจ้าหน้าที่สถานีควบคุมไฟป่าขุนขาน-สะเมิง สบอ.16 ชุดเหยี่ยวไฟ กรมป่าไม้ และชุดอาสาดับไฟของหมู่บ้านได้กลายเป็นหนึ่งในกระแสที่ผู้คนให้ความสนใจ โดยเฉพาะโลกออนไลน์ ซึ่งนำไปสู่การแสดงความเห็นต่างๆ มากมายทั้งเรื่องการจัดการ ปัญหาหมอกควัน หรือแม้แต่เรื่องของสถานการฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM2.5

 

โดยความรุนแรงของไฟป่าขึ้นอยู่กับลักษณะของพื้นที่ โดยในเขตพื้นที่ป่าหนาแน่น ไฟป่าสามารถลุกลามได้ถึง 10.8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่วนพื้นที่โล่งอย่างทุ่งหญ้าความเร็วในการลุกลามจะสูงถึง 22 กิโลเมตรต่อชั่วโมง นอกจากนี้ สภาพอากาศโดยเฉพาะทิศทางลม และปริมาณเชื้อเพลิงในพื้นที่ยังมีส่วนช่วยให้ไฟไหม้ในพื้นที่เล็กๆ สามารถโหมกระหน่ำรุนแรงจนกลายเป็นไฟป่าขนาดใหญ่ที่ไม่สามารถควบคุมได้

และในปัจจุบันที่ภาวะโลกร้อนทำให้สภาวะอากาศทั่วโลกแปรปรวนยิ่งกว่าเดิม โดยเฉพาะในอากาศในหน้าร้อนที่เกิดขึ้นยาวนานกว่าปกติ อีกทั้งยังทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นและความแห้งแล้งเพิ่มมากขึ้น สภาวะอากาศเช่นนี้เป็นตัวกระตุ้นชั้นดีให้ไฟป่าเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าเดิม ลุกลามได้มากกว่าเดิมและควบคุมได้ยากกว่าเดิม

 

ไฟป่าที่มีสาเหตุจากคนเรานั้นสามารถแยกออกเป็น 3 ลักษณะสำคัญ คือ
1. หาของป่า เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดไฟป่ามากที่สุด การเก็บหาของป่าส่วนใหญ่ การจุดไฟส่วนใหญ่เพื่อให้พื้นป่าโล่ง เดินสะดวก หรือให้แสงสว่างในระหว่างการเดินทางผ่านป่าในเวลากลางคืน หรือจุดเพื่อกระตุ้นการงอกของเห็ด หรือกระตุ้นการแตกใบใหม่ หรือจุดเพื่อไล่ตัวมดแดงออกจากรัง รมควันไล่ผึ้ง หรือไล่แมลงต่างๆ ในขณะที่อยู่ในป่า

2. เผาไร่ เป็นสาเหตุที่สำคัญรองลงมา การเผาไร่ก็เพื่อกำจัดวัชพืชหรือเศษซากพืชที่เหลืออยู่ภายหลังการเก็บเกี่ยว ทั้งนี้เพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูกในรอบต่อไป ทั้งนี้โดยปราศจากการทำแนวกันไฟและปราศจากการควบคุม ไฟจึงลามเข้าป่าที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง

3. แกล้งจุด ทั้งในแง่ของความคึกคะนอง และในกรณีที่ประชาชนในพื้นที่มีปัญหาความขัดแย้งกับหน่วยงานของรัฐในพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเรื่องที่ทำกิน หรือข้อกระทำผิดเกี่ยวกับป่าไม้

 

ไฟป่า หรือ ฤดูไฟป่า เกิดช่วงไหน และพื้นที่ใด
สาเหตุไฟป่าส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาตินั้น มักเกิดขึ้นบริเวณทางตอนบนของประเทศ เช่น ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยจะเกิดในช่วงระหว่างปลายเดือนกุมภาพันธถึงต้นเดือนพฤษภาคม สําหรับภาคใต้มักได้รับผลกระทบจากไฟป่าที่เกิดขึ้นบริเวณเกาะสุมาตราของประเทศอินโดนีเซีย สาเหตุของการเกิดไฟป่าจะขึ้นกับสภาพอากาศและสสารที่เป็นเชื้อเพลิงโดยรอบพื้นที่นั้นๆ เป็นสําคัญ

สำหรับ ไฟป่าในพื้นที่ภาคเหนือนั้น สภาพพื้นที่ และวิถีการใช้ชีวิตของผู้คนถือเป็น 2 ปัจจัยสำคัญที่ไม่อาจมองข้าม โดยข้อมูลจาก พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ อพวช. ระบุถึงสาเหตุที่ภาคเหนือต้องประสบปัญหาไฟป่าทุกปีเอาไว้ว่า ด้วยภูมิศาสตร์ของภาคเหนือ

ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงและมีที่ราบคล้ายแอ่งกระทะ ลักษณะของป่าแตกต่างจากพื้นที่อื่นๆ และเมื่อเข้าสู่ฤดูร้อน ใบไม้แห้งจะกลายเป็นเชื้อเพลิงอย่างดี เมื่อเกิดไฟป่า การพัดพาของลมจะทำให้ไฟลุกติดได้ง่ายและไกลขึ้น และด้วยสภาพอากาศที่ไม่ถ่ายเท ยิ่งทำให้ฝุ่นควันมีเพิ่มมากขึ้น

ชาวบ้านที่อาศัยในพื้นที่สูงในภาคเหนือส่วนใหญ่ทำเกษตรเชิงเดี่ยว จะเผาป่าเพื่อเริ่มทำการเกษตรครั้งใหม่ หรือพืชบางชนิดอาจต้องใช้ไฟเพื่อช่วยในการเจริญเติบโตหรือผลัดเปลี่ยน เช่น ช่วยให้ผักหวานแตกยอดหรือเห็ดเผาะเมื่อมีต้นไม้และหญ้าขึ้นคลุมผิวดินมากๆ จะไม่สามารถขึ้นได้และยากต่อการหา จึงทำให้ชาวบ้านมีความเชื่อว่าเมื่อเผาป่าจะหาของป่าได้ง่ายขึ้น ปัญหานี้จึงอยู่คู่กับภาคเหนือมาตลอด บางครั้งไฟป่าอาจเกิดขึ้นเอง หรือจากน้ำมือมนุษย์ เพียงแค่ไฟเพียงจุดเดียว สามารถลุกลามไปเป็นหลายร้อยไร่ ภายในระยะเวลาไม่กี่วัน

 

ผลกระทบต่อสุขภาพ

ควันและฝุ่นจากการเกิดไฟป่าส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ด้วยทางได้ระบบทางเดินหายใจ อย่างฝุ่น pm 2.5 ซึ่งเสี่ยงที่จะทำให้เป็นโรคต่าง ๆ ดังนี้

1.1 มะเร็งปอด

1.2 โรคหัวใจขาดเลือด

1.3 โรคหลอดเลือดในสมอง

1.4 โรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ

1.3 วิธีป้องกันตนเอง…ในวันที่หมอกควันปกคลุมเมือง

 

หลายพื้นที่ของประเทศไทยอาจถูกปกคลุมไปด้วยหมอกควันจากไฟป่า ซึ่งมีความรุนแรงจากการเผาไหม้เป็นบริเวณกว้างจนยากต่อการควบคุม โดยเฉพาะในพื้นที่ทางภาคเหนือของไทย หลายจังหวัดต้องเผชิญกับภาวะปัญหาหมอกควันไฟป่าปกคลุมทุกปี ซึ่งควันไฟนี้จะมีการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ ทำให้มีเขม่าควันและก๊าซพิษต่าง ๆ เกิดขึ้นจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ ทำให้มีปัญหาสุขภาพตามมามากมาย

 

สำหรับประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ควันไฟป่าปกคลุม เรามีวิธีป้องกันตนเองจากหมอกควัน ดังนี้

  • ใช้หน้ากากอนามัย หากอยู่ในบริเวณที่มีควันไฟและหมอกควันควรใช้หน้ากากอนามัย หรือผ้าที่ทำด้วยฝ้ายหรือผ้าลินินพันหลาย ๆ ทบมาคาดปากและจมูก เพื่อป้องกันควันไฟ หรือให้พรมน้ำที่ผ้าหมาด ๆ จะช่วยซับกรองก๊าซพิษได้มากขึ้นเปลี่ยนหน้ากากหรือผ้าคาดปากบ่อย ๆ หากหน้ากากที่ใช้อยู่เริ่มสกปรก หรือเรารู้สึกหายใจไม่สะดวก อาจเกิดจากมีเขม่าควันเกาะติดอยู่มาก ควรเปลี่ยนแผ่นใหม่จะช่วยให้หายใจได้สะดวกขึ้น
  • ปิดประตูหน้าต่างไม่ให้ควันเข้ามา ถ้าอาคารบ้านเรือนเราไม่มีระบบระบายอากาศให้ปิดประตูหน้าต่างเพื่อป้องกันไม่ให้ควันไฟเข้ามา
  • ไล่ควันไฟออกไปจากบ้านเรือน โดยใช้พัดลมเป่าไล่ออกไปภายนอกบ้านในทิศทางเดียวกัน
  • เปลี่ยนหรือล้างระบบกรองอากาศเป็นประจำ อาคารขนาดใหญ่ ศูนย์การค้า ห้องเรียน ศูนย์เลี้ยงเด็ก สถานพยาบาล หรือที่ที่ต้องมีการกรองอากาศจากภายนอกเข้ามาสู่ในอาคาร ควรมีการเปลี่ยน / ล้าง ระบบกรองอากาศเป็นประจำ
  • ดูแลผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคหอบหืด เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ หรือผู้ที่ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ ควรพาออกจากที่ที่มีหมอกควันมาก หรือหากมีอาการผิดปกติ ให้นำผู้ป่วยส่งแพทย์โดยเร็ว
  • ดื่มน้ำเปล่า หรือชาเจือจางมากๆ ควรดื่มน้ำให้ได้วันละ 2 – 3 ลิตร โดยสังเกตจากสีปัสสาวะควรใส หรือสีเหลืองจาง ถ้าปัสสาวะมีสีเข้มให้ดื่มน้ำเพิ่มขึ้น เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ ลดภาวะเลือดหนืด ปอดและหัวใจจะทำงานหนัก เพิ่มความเสี่ยงการเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต และควรเลี่ยงเครื่องดื่มไม่เติมน้ำตาล เพราะจะทำให้อ้วน
  • หลีกเลี่ยงการออกนอกอาคาร ทำงาน หรือออกกำลังกายในที่กลางแจ้ง เพราะที่เหล่านี้จะมีหมอกควันสูงกว่าในอาคาร เพิ่มความเสี่ยงการได้รับควันพิษมากขึ้น เป็นวิธีป้องกันตัวเองจากหมอกควันได้ดีที่สุด
  • ถูพื้นให้บ่อยขึ้นแทนการกวาดบ้าน เพราะการกวาดบ้านจะทำให้ฝุ่นละอองฟุ้งกระจายในบ้านมากขึ้น
  • ลดการทานเนื้อสัตว์ให้น้อยลง หันมาทานพืชผักผลไม้ให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระให้กับร่างกาย
  • ไม่ควรเป่าลมแอร์ – พัดลมใส่ลำตัวโดยตรง เพราะร่างกายจะสูญเสียความร้อนจากการระเหยของน้ำอย่างรวดเร็ว ทำให้อุณหภูมิของร่างกายเย็นลงเร็ว เป็นสาเหตุให้ป่วยง่าย รวมถึงไม่ควรสวมเสื้อผ้าเปียกในห้องแอร์หรือที่ที่มีลมพัดแรงด้วย เป็นอีกหนึ่งเคล็ดลับวิธีป้องกันตัวเองจากหมอกควันที่หลายคนอาจยังไม่รู้ก็ว่าได้ค่ะ
    งดการเผาที่จะเพิ่มควันไฟ ทุกคนต้องช่วยกันตระหนักว่าไม่ควรเผาสิ่งใดเพิ่ม เพราะควันไฟจะทำให้อากาศเลวร้ายมากยิ่งขึ้นไปอีก
  • ใช้เครื่องฟอกอากาศ ภายในบ้านเพื่อปรับอากาศ จับ ดัก กัก ฝุ่นละออง ให้อากาศที่บริสุทธิ์ในภายบ้าน
  • ติดตามข่าวเตือนภัยอยู่เสมอ เพื่อจะได้หลีกเลี่ยงการเดินทางหรือเข้าไปอยู่ในบริเวณที่มีหมอกควันปกคลุมมาก ๆ

ลองนำวิธีป้องกันตัวเองจากหมอกควันที่แนะนำเหล่านี้ไปใช้กันดู เพื่อให้เรารับมือหมอกควันได้อย่างรู้เท่าทันและปลอดภัย สุขภาพดี แข็งแรงกันนะคะ

 

Leave a Reply

Your email address will not be published.