โรคระบบทางเดินหายใจ รู้จักไว้ ปลอดภัยกว่า

โรคระบบทางเดินหายใจ

โรคระบบทางเดินหายใจ รู้จักไว้ ปลอดภัยกว่า

โรคระบบทางเดินหายใจ
โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ เกิดจากการติดเชื้อโรคของระบบทางเดินหายใจ ตั้งแต่จมูก คอ หลอดลมไปจนถึงปอด เชื้อที่เป็นสาเหตุส่วนใหญ่จากเชื้อไวรัส

 

สารบัญ

     โรคระบบทางเดินหายใจ

     โรคหลอดลมอักเสบ

     โรคไอกรน

     โรคปอดบวม

     โรคเชื้อราในปอด
     โรควัณโรค

     โรคหอบหืด

     โรคมะเร็งปอด

     โรคถุงลมโปร่งพอง

     วิธีการตรวจหาโรคระบบทางเดินหายใจด้วยการแพทย์

     การป้องกันโรคระบบทางเดินหายใจด้วยตนเอง

     สรุป

  โรคระบบทางเดินหายใจ หมายถึงไข้หวัดธรรมดา(Common cold) เป็นโรคที่พบบ่อยมากทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก โดยเฉพาะเด็กเล็กซึ่งมักพบเป็นหวัดได้บ่อยถึงปีละ 6 – 8 ครั้ง เพราะเด็กมีภูมิคุ้มกันต้านทานต่ำกว่าผู้ใหญ่ โดยเฉพาะเด็กอนุบาลจึงมีโอกาสเป็นหวัดได้บ่อยกว่าผู้ใหญ่มาก ดังนั้นเด็กที่เป็นภูมิแพ้ก็จะยิ่งมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้มากขึ้น และอาจเจ็บป่วยจนถึงขั้นเป็นหวัดเรื้อรังหรือเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น หลอดลมปอด ไซนัสและหูชั้นกลางอักเสบตามมาได้ หวัดจะพบได้บ่อยในช่วง 2 – 3 ปีแรกที่เข้าโรงเรียนใหม่ๆ ส่วนใหญ่เป็นเด็กวัยอนุบาล เมื่ออายุเกิน 6 ปี ก็จะเป็นหวัดน้อยลงเหลือเพียงปีละ 2 – 3 ครั้ง เชื้อที่เป็นสาเหตุของหวัดส่วนใหญ่เป็นไวรัส อาการที่สำคัญคือ มีน้ำมูกใสๆไหล จาม คัดจมูก บางคนครั่นเนื้อครั่นตัว อาจมีอาการไอตามมาทีหลังได้ อาการไข้มักจะไม่สูงมากและเป็นอยู่ไม่เกิน 3 วัน อาการหวัดมักจะหายไปเองใน 3 – 4 วัน หรือไม่เกิน 7 วัน ส่วนมากพบสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย รา โปรตัวซัว รวมถึงสารพิษ สารเคมี และการเกิดเนื้องอกมะเร็ง ได้แก่

1.โรคหลอดลมอักเสบ

     สามารถแบ่งได้เป็นชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง แต่ในชนิดที่จะกล่าวถึงนี้คือ โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (Acute Bronchitis) เป็น โรคทางระบบทางเดินหายใจ ที่เกิดจากการติดเชื้อที่หลอดลม หลอดลมในร่างกายมีขนาดใหญ่ จะแตกแขนงเป็นขนาดเล็กย่อยๆจนกว่าจะถึงถุงลม ปอด เกิดจากการติดเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย ทำให้เยื่อบุหลอดลมเกิดการอักเสบบวม ทำให้การไหลผ่านอากาศทำได้ไม่ดี พบบ่อยในช่วงฤดูฝน ฤดูหนาว พบผู้ติดเชื้อได้ทุกช่วงอายุ โรคหลอดลมอักเสบทำให้เกิดอาการไอมาก มีเสมหะ หายใจลำบาก การรักษามักใช้การประคับประคองตามอาการจนอาการหายดี

     การติดต่อ ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส โดยส่วนใหญ่ได้แก่เชื้อ อดิโนไวรัส (Adenovirus), ไรโนไวรัส (Rhinovirus), อินฟลูเอนซา (ไข้หวัดใหญ่ : Influenza), พาราอินฟลูเอนซา (Parainfluenza) และ อาร์เอสวี (Respiratory syncytial virus : RSV) ส่วนน้อยเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย คือ ไมโคพลาสมา (Mycoplasma) และ คลาไมเดีย (Chlamydia) การติดต่อผ่านทางน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ โดยการหายใจเอาเชื้อที่อยู่ในละอองฝอยกระจายอยู่ในอากาศ จากการไอ หรือ หายใจรดกัน ระยะเวลาแพร่เชื้อสามารถแพร่ได้ก่อนเกิดอาการ หลังเกิดอาการ

 

2.โรคไอกรน

     โรคไอกรนเป็นโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ ทำให้มีการอักเสบของเยื่อบุทางเดินหายใจ เกิดอาการไอ ที่มีลักษณะพิเศษคือ ไอซ้อนๆ ติดๆ กัน 5-10 ครั้งหรือมากกว่านั้นจนเด็กหายใจไม่ทัน จึงหยุดไอ มีอาการหายใจเข้าลึกๆ เป็นเสียงวู๊ป (Whooping cough) สลับกันไปกับการไอเป็นชุดๆ จึงมีชื่อเรียกว่า “โรคไอกรน” บางครั้งอาการอาจจะเรื้อรังนานเป็นเวลา 2-3 เดือน

     สาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรียBordetella pertussis (B. pertussis) เป็นเชื้อที่เพาะขึ้นใน Bordet Gengau media ซึ่ง เป็นเชื้อที่เพาะขึ้นได้ยาก จะพบเชื้อได้ในลำคอ ในส่วนnasopharynxของผู้ป่วยในระยะ 1-2 อาทิตย์แรก ก่อนมีอาการไอเป็นแบบ paroxysmal

     ไอกรนเป็นโรคระบบทางเดินหายใจ ที่ติดต่อกันได้ง่ายจากการไอ จาม รดกันโดยตรงผู้สัมผัสโรคที่ไม่มีภูมิคุ้มกันจะติดเชื้อ เกิดโรคเกือบทุกรายโรคนี้พบได้บ่อยในเด็ก ส่วนใหญ่ติดเชื้อมาจากผู้ใหญ่ในครอบครัวซึ่งมีการติดเชื้อแต่ไม่มีอาการ (carrier) หรือมีอาการไม่มากโรคไอกรนเป็นได้กับทารกตั้งแต่เดือนแรก ทั้งนี้ เนื่องจากภูมิคุ้มกันจากแม่ผ่านมายังลูกไม่ได้หรือได้น้อยมากในเด็กเล็กอาการจะรุนแรงมากและมีอัตราตายสูงส่วนใหญ่ของผู้ที่มีอาการรุนแรงถึงแก่เสียชีวิต เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี เป็นเด็กที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน โดยทั่วไปแล้ว โรคนี้เป็นได้ทุกอายุถ้าไม่มีภูมิคุ้มกัน แต่ในวัยหนุ่มสาว หรือผู้ใหญ่อาจไม่มีอาการหรือไม่มีอาการแบบไอกรน ส่วนใหญ่จึงไม่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไอกรน

 

3.โรคปอดบวม

โรคปอดอักเสบเกิดได้จาก 2 สาเหตุ ได้แก่

     ปอดอักเสบจากการติดเชื้อ หรือ pneumonia (ปอดบวม) เป็นชนิดของปอดอักเสบที่พบได้บ่อยที่สุด โดยเชื้อโรคที่เข้าสู่ปอด ทำให้เกิดการอักเสบของถุงลมปอด เนื้อเยื่อโดยรอบ ได้แก่ เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ซึ่งเชื้อที่พบจะแตกต่างกันในแต่ละกลุ่มอายุ สภาพแวดล้อมที่เกิดโรค เช่น ได้รับเชื้อจากที่ชุมชนทั่วไป หรือ จากภายในโรงพยาบาล

     ทั้งนี้ เชื้อแบคทีเรียที่พบมักได้แก่ เชื้อ Streptococcus pneumoniae, เชื้อ Haemophilus influenzae type b, เชื้อ Chlamydia pneumoniae, เชื้อ Legionella spp. และเชื้อ Mycoplasma pneumoniae ส่วนเชื้อไวรัส ได้แก่ เชื้อ Respiratory Syncytial Virus (RSV), เชื้อ Influenza หรือเชื้อไข้หวัดใหญ่ เชื้อราจากมูลนกหรือซากพืชซากสัตว์

    โรคระบบทางเดินหายใจ ปอดอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ เกิดจากการหายใจเอาสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ เช่น ฝุ่น ควัน สารเคมีที่ระเหยได้ นอกจากนี้ การใช้ยาปฏิชีวนะ ยาเคมีบำบัด ยาสำหรับควบคุมการเต้นของหัวใจบางชนิดก็อาจทำให้เกิดภาวะปอดอักเสบได้

 

4.โรคเชื้อราในปอด

ปอดอักเสบจากเชื้อรามักจะพบเชื้อรา 2 ชนิดที่ก่อให้เกิดภาวะปอดอักเสบ ได้แก่

     เชื้อราคริปโตคอคคัส (Cryptococcus neoformans) พบได้ในมูลนกพิราบ นกคานารี นกหงส์หยก นกแก้ว นกแขกเต้า นกกระจอก นกเอี้ยง และนกเขา ซึ่งในมูลของสัตว์ดังกล่าวจะมีเชื้อราคริปโตคอคคัส (Cryptococcus neoformans) อยู่ และหากเราหายใจเอาเชื้อราเข้าไป ก็อาจทำให้เกิดภาวะปอดอักเสบจากเชื้อราได้

     เชื้อราแอสเปอร์จิลลัส (Aspergillus) พบได้ทั่วไปในสิ่งแวดล้อม สามารถปนเปื้อนอยู่ในอากาศ และเมื่อสูดหายใจเข้าไปก็อาจทำให้ติดเชื้อราที่ปอด ซึ่งหากมีความรุนแรงถึงขั้นติดเชื้อราระยะลุกลามไปยังอวัยวะต่าง ๆ ก็อาจเสี่ยงเสียชีวิตได้

 

5.โรควัณโรค

     วัณโรคเป็น โรคระบบเดินทางหายใจ ติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium ซึ่งมีหลายชนิด เชื้อที่พบบ่อยที่สุดและเป็นปัญหาในประเทศไทย คือ เชื้อ Mycobacterium tuberculosis วัณโรคเกิดได้ในทุกอวัยวะของร่างกาย ส่วนใหญ่มักเกิดที่ปอดพบร้อยละ 80 ส่วนวัณโรคนอกปอดเป็นผลมาจากการแพร่กระจายของการติดเชื้อไปยังอวัยวะอื่นๆ ได้แก่ เยื้อหุ้มปอด ต่อมน้ำเหลือง กระดูกสันหลัง ข้อต่อ ช่องท้อง ระบบทางเดินปัสสาวะ ระบบสืบพันธุ์ ระบบประสาท เป็นต้น

     การแพร่กระจายวัณโรคปอด เชื้อวัณโรคจะแพร่กระจายจากปอด หลอดลม หรือกล่องเสียงของผู้ป่วยวัณโรค เมื่อผู้ป่วยไอจามพูดดังๆ ตะโกน หัวเราะ หรือร้องเพลง เชื้อเหล่านี้จะอยู่ในละอองฝอยของเสมหะที่ออกมาสู่อากาศ อนุภาคของละอองฝอยขนาดใหญ่มักตกลงพื้นและแห้ไป เหลือส่วนที่เล็กที่สุดที่มีเชื้อวัณโรคจะลอยอยู่ในอากาศได้หลายชั่วโมง และถูกทำลายโดยแสงแดด

 

6.โรคหอบหืด

     โรคหอบหืดและโรคหืดเป็นโรคเดียวกัน บางครั้งเรียกหอบหืดในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการหอบร่วมด้วย ซึ่งในผู้ป่วยโรคหืดบางรายอาจไม่มีอาการหอบ มีเพียงอาการไอเรื้อรัง หายใจมีเสียงหวีด ซึ่งเกิดจากการอักเสบในหลอดลบลมและมีหลอดลมตีบแต่ไม่ถึงขั้นหอบ โดยอาการหอบจะเกิดขึ้นในผู้ป่วยที่หลอดลมตีบที่รุนแรง และในทางปฏิบัติพบว่าโรคหืดเป็นสาเหตุของอาการไอเรื้อรังที่สำคัญ นอกจากกรดไหลย้อน และจมูกอักเสบเรื้อรัง

     สาเหตุของโรคเกิดจากการอักเสบของหลอดลมเรื้อรัง ร่วมกับการที่หลอดลมมีความไวต่อสิ่งที่มากระตุ้นมากผิดปกติ ทำให้เกิดอาการของโรคหืด ได้แก่ สารก่อภูมิแพ้ในและนอกครัวเรือน เช่น ฝุ่น และไรฝุ่น รังแคสัตว์ เกสรดอกไม้ รวมทั้งสารก่อมลพิษในอากาศ ควันบุหรี่ ไอระเหยน้ำมัน สารเคมี ก๊าซพิษต่าง ๆ เป็นต้น หรือการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรียและเชื้อราในอากาศ นอกจากนี้ยังพบว่าสภาพอากาศที่เย็นและแห้ง เป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการได้ด้วย

 

7.โรคมะเร็งปอด

     แบ่งออกเป็น 2 ชนิดตามขนาดของเซลล์ ซึ่งความแตกต่างของขนาดเซลล์นี้มีความสำคัญ เนื่องจากวิธีการรักษาจะแตกต่างกัน
ชนิดเซลล์เล็ก (small cell lung cancer) พบได้ประมาณ 10-15% เซลล์จะเจริญเติบโตและแพร่กระจายได้รวดเร็วกว่าชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว การรักษาจะไม่ใช้วิธีการผ่าตัด ส่วนมากจะรักษาด้วยการใช้ยาหรือฉายรังสี
ชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก (non-small cell lung cancer) พบได้บ่อยกว่าชนิดเซลล์เล็ก (พบได้ประมาณ 85-90%) แต่จะแพร่กระจายได้ช้ากว่า และสามารถรักษาให้หายได้โดยการผ่าตัดหากพบตั้งแต่เนิ่นๆ

โดยทั่วไปแล้วมะเร็งปอดในระยะเริ่มต้นมักไม่แสดงอาการ แต่เมื่อโรคลุกลามแล้ว อาจพบอาการดังต่อไปนี้

     – ไอเรื้อรัง (ไอแห้งหรือไอมีเสมหะ)
     – มีปัญหาการหายใจ เช่น หายใจสั้น
     – หายใจมีเสียงหวีด
     – เจ็บบริเวณหน้าอกตลอดเวลา
     – ไอมีเลือดปน
     – เสียงแหบ
     – ติดเชื้อในปอดบ่อยๆ เช่น ปอดบวม
     – เหนื่อยง่าย หรือรู้สึกเหนื่อยตลอดเวลา
     – น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ

     อาการเหล่านี้อาจไม่เกี่ยวเนื่องกับมะเร็ง เนื่องจากมีหลายโรคที่อาจทำให้เกิดอาการเหล่านี้ได้ อย่างไรก็ดี ผู้ที่มีอาการดังกล่าวข้างต้นควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาโดยเร็ว

 

8.โรคถุงลมปอดโป่งพอง

     โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังหรือที่มักเรียกกันว่า “โรคถุงลมโป่งพอง” หลายคนมักคิดว่าเกิดจากการสูบบุหรี่แต่เพียงอย่างเดียวและมักจะมองข้ามปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่ใกล้ตัวเรา จะพาไปทำความรู้จักและทำความเข้าใจกับโรคนี้กันได้อย่างถูกต้อง

     สาเหตุที่สำคัญ ที่ทำให้เกิดโรคถุงลมโป่งพองก็คือ การที่เราสูดสารที่เป็นพิษ อาจจะอยู่ในรูปของฝุ่นควันที่มีอานุภาพเล็ก ๆ หรือแก๊ส หรือสารเคมีเข้าไปยังปอด นอกจากนั้นสาเหตุที่เรารู้กันดี คือ การสูบบุหรี่ สูบบุหรี่ยิ่งสูบนานสูบมากก็จะมีโอกาสที่จะเป็นมากขึ้น ซึ่งอาจเกิดจากการที่เราสูบเอง หรือได้รับจากสิ่งแวดล้อม เช่น จากคนในบ้านหรือที่ทำงานด้วย นอกจากบุหรี่ก็จะมีสารที่เป็นพิษอย่างอื่นที่ทำให้เกิดโรคนี้ได้เช่นเดียวกัน เช่น มลภาวะในอากาศตามท้องถนน ตามโรงงานต่าง ๆ ทีนี้อาจจะสงสัยว่าบางคนเป็นบางคนไม่เป็นทั้ง ๆ ที่สูบบุหรี่เท่ากันหรือว่าทำงานที่เดียวกัน ก็เนื่องจากว่ามีปัจจัยในตัวคนนั้นเข้ามาเกี่ยวข้องก็คือเรื่องของพันธุกรรม ในบางคนอาจจะมีพันธุกรรมที่ผิดปกติทำให้การซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของปอดทำได้น้อยกว่าคนปกติ หรืออาจจะมีความผิดปกติของปอดตั้งแต่เด็ก ๆ ก็ทำให้ต้นทุนน้อยกว่าคนอื่นก็จะมีโอกาสเกิดขึ้นมากกว่า

 

วิธีการตรวจหาโรคระบบทางเดินหายใจด้วยการแพทย์

สามารถวินิจฉัยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้บริการตรวจ วินิจฉัย รักษาโรคปอดและ โรคระบบทางเดินหายใจ ทุกชนิด

    – เครื่องมือตรวจวัดสมรรถภาพปอด (Pulmonary Function Test)
– เอกซเรย์ปอด (Chest X-Ray)
– เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ปอด (CT Chest)
– การส่องกล้องตรวจหลอดลมและตัดชิ้นเนื้อเพื่อการวินิจฉัยโรค (Bronchoscopy)

 

การป้องกันโรคระบบทางเดินหายใจด้วยตนเอง

      การป้องกันโรคไม่ให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคจากผู้ป่วยไปสู่บุคคลอื่น สามารถปฏิบัติได้ง่ายๆโดยเริ่มจากตนเองก่อน เมื่อป่วยด้วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจควรปฏิบัติตนเพื่อลดการแพร่เชื้อ มีหลายวิธี ดังนี้

     1. หมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ เพราะมือเป็นตัวกลางสำคัญในการแพร่เชื้อจากผู้ป่วยไปยังผู้อื่นโดยตรง
     2. ใช้ผ้าหรือกระดาษทิชชูปิดปากและจมูกเวลาไอ/จาม หลังใช้ควรทิ้งกระดาษลงถังขยะที่มีฝาปิด
     3. แยกห้องนอน ไม่นอนปะปนร่วมกับคนอื่น
     4. ผู้ป่วยที่มีอาการไข้ และ ไอ ควรพักผ่อนอยู่กับบ้านจนกว่าอาการจะดีขึ้น หากมีความจำเป็นต้องไปในที่ชุมชน เช่น ศูนย์การค้า โรงภาพยนตร์ โรงเรียน ที่ทำงาน รถประจำทาง และรถไฟฟ้า ฯลฯ
     5. สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อป่วย เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น

 

โรคระบบทางเดินหายใจ
ป้องกันโรคระบบทางเดินหายใจง่ายๆ และดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี มีชัยไปกว่าครึ่ง เพียงมีเครื่องฟอกอากาศ Air Pura

 

     6.  ใช้เครื่องฟอกอากาศ เนื่องจากภายในอาคารอาจไม่ปลอดภัยจาก PM2.5 อากาศเป็นพิษเสมอไป โดยเฉพาะอาคารที่มีการเปิดปิดประตูบ่อยครั้งจากการที่มีผู้คนเข้าออกจำนวนมาก ดังนั้น เครื่องฟอกอากาศ จึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้หายใจในอาคารอย่างสบายใจเครื่องฟอกอากาศ AIR PURA UV+ HAPE เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ดี เพราะใช้เทคโนโลยีปล่อยแสงยูวีที่สามารถฆ่าเชื้อโรคและแบคทีเรียได้ ไวต่อกลิ่นไม่พึงประสงค์ ไม่ให้สิ่งเจือปนในอากาศเล็ดลอดเข้ามา ทั้งจากไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา ซึ่งจะช่วยให้อากาศบริสุทธิ์ เหมาะกับคนป่วยโรคภูมิแพ้ โรคระบบทางเดินหายใจ

 

     สรุป เมื่อทุกท่านป่วยเป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ ได้แก่ โรคไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม วัณโรค ฯลฯ ท่านสามารถดูแลสุขภาพของตนเองเบื้องต้นได้ โดยการสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อเจ็บป่วย เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคไปสู่ผู้อื่น ถ้าหากมีอาการป่วยรุนแรง ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาได้อย่างทันท่วงที ที่สำคัญท่านต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ สำหรับญาติผู้ดูแลผู้ป่วยจำเป็นจะต้องสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย ไม่ควรใช้สิ่งของเครื่องใช้ร่วมกับผู้ป่วย เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว แก้วน้ำ ช้อน จาน ชาม ฯลฯ เป็นต้น

โรคระบบทางเดินหายใจ
เครื่องฟอกอากาศ คือ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่กำจัดสิ่งที่ปนเปื้อนมากับอากาศ เช่น ฝุ่น แบคทีเรีย ( Bacteria ) หรือไวรัส รวมถึงกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ หลักการทำงาน การดูดอากาศที่ปนเปื้อนสิ่งเหล่านี้เข้าไปผ่านกระบวนการ และปล่อยอากาศบริสุทธิ์ออกมา

 

🔥  โปรโมชั่นไฟลุก  🔥

จากราคาปกติ 9,000 บาท ลดเหลือ 5,900 บาทเท่านั้น!!

อีกทั้งยังมีโปรโมชั่นพิเศษ ซื้อ 2 แถม 1

 

📞สั่งซื้อสินค้าโทร 089-936 3588📞

FacebookSmile Shop International

YoutubeSmileShop International

Website : Smile Shop international

Leave a Reply

Your email address will not be published.