โรคไข้เลือดออก ภัยจากยุงตัวร้าย เป็นซ้ำได้ อันตรายกว่าเดิม

โรคไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออก ภัยเงียบของคนเมือง

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้โรคไข้เลือดออกเกิดการระบาด มีการขยายพื้นที่การติดต่อของโรคไปอย่างกว้างขวาง และเกิดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสอย่างรวดเร็ว ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือมีการขยายชุมชนเมืองมากขึ้น มีจำนวนยุงลายบ้านมากขึ้นจากการเพิ่มจำนวนของภาชนะที่มีน้ำขังในชุมชน มีการเคลื่อนไหวของประชากรมากขึ้นจากการคมนาคมที่สะดวกมากขึ้นทั้งภายในและต่างประเทศ แม้ว่าจะมีร่างกายที่แข็งแรง อาศัยอยู่ในตัวเมืองที่มีสภาพแวดล้อมที่สะอาด แต่ก็ไม่สามารถมั่นใจได้ว่าจะไม่เสี่ยงต่อการเป็น โรคไข้เลือดออก

    และยิ่งสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ทำให้ระยะเวลาในการอาศัยอยู่ภายในบ้านมีมากขึ้น จึงอาจเป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ โรคไข้เลือดออก มีอัตราการระบาดของโรคที่สูงขึ้น

 ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่าในปี 2558 ซึ่งเป็นปีที่พบการระบาดของโรคไข้เลือดออกครั้งใหญ่ทั่วโลก ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อไข้เลือดออก 142,925 ราย ซึ่งมากกว่าปี 2557 ถึง 247% ส่วนปี 2559 มีผู้ติดเชื้อประมา ณ 5 หมื่นราย เสียชีวิต 57 ราย และจากสถิติของทวีปเอเชีย ประเทศไทยมีผู้ป่วยไข้เลือดออก เป็นอันดับที่ 2 รองจากฟิลิปปินส์ กลุ่มอายุที่เป็นไข้เลือดออกมากที่สุด คืออายุ 10-14 ปี รองลงมาคือ 5-9 ปี, 15-24 ปี และ 25-34 ปีตามลำดับ เรียกได้ว่าโรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่มีความรุนแรงสูง ถ้าหากมีผู้ป่วย 1,000 ราย จะเสียชีวิต 1 ราย จาก 2 สาเหตุ คือภาวะเลือดออกมาก และเลือดรั่วจากเส้นเลือดจนเกิดภาวะช็อกและเสียชีวิต ด้วยสภาพอากาศค่อนข้างร้อนชื้นอย่างประเทศไทย จะยิ่งเอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัสเดงกี บวกกับมีฝนตก ทำให้ลูกน้ำยุงลายมีปริมาณมาก และเจริญเติบโตได้ดี โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ เมื่อมีฝนตกมากคนอยู่รวมกันหนาแน่น โอกาสที่จะแพร่ระบาดก็เพิ่มมากขึ้น ไวรัสเดงกี เป็นสาเหตุของไข้เลือดออก มี 4 สายพันธุ์ คือ เดงกี 1, 2, 3 และ 4 ประเทศไทยมีการระบาดของ 4 สายพันธุ์วนเวียนกันไปแล้วแต่พื้นที่ ไวรัสเดงกีมียุงลายบ้านเป็นพาหะนำโรค โดยเฉพาะยุงตัวเมียซึ่งกัดเวลากลางวันและดูดเลือดคนเป็นอาหารเข้าสู่กระเพาะ สะสมในเซลล์ผนังกระเพาะจนเพิ่มจำนวนมากขึ้น เข้าสู่ต่อมน้ำลาย และเข้าในร่างกายคนที่ถูกกัดเป็นรายต่อไป เชื้อไวรัสเดงกีมีระยะฟักตัวในยุงประมาณ 8-12 วัน เมื่อยุงตัวนี้ไปกัดคนอื่นอีกก็จะปล่อยเชื้อไวรัสไปยังผู้ที่ถูกกัด เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายคนและผ่านระยะฟักตัวนาน 5-8 วัน หรือสั้นที่สุด 3 วัน ยาวนานที่สุด 15 วัน ก็จะทำให้เกิดอาการของโรคได้

โรคไข้เลือดออก

 

ยุงลาย พาหะร้ายในบ้าน

ยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก มี 2 ชนิด คือ

1.ยุงลายบ้าน ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในบริเวณบ้าน เพาะพันธุ์ตามภาชนะน้ำใส นิ่ง ยุงลายชนิดนี้จึงเป็นพาหะหลักในการนำโรคในเมืองใหญ่ และเป็นปัญหาสำคัญของการระบาด

2.ยุงลายสวน ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในป่า สวน เพาะพันธุ์ตามต้นไม้ ใบไม้ ตอไม้ที่มีน้ำฝนตกค้างขังอยู่
ยุงลายเป็นยุงสะอาด เพาะพันธุ์ในจุดที่มีน้ำใส นิ่ง ไม่ใช่ยุงที่อยู่ตามท่อระบายน้ำ หรือน้ำเน่าเสีย ยุงลายมักกัดคนในเวลากลางวัน ช่วงเวลาที่ชอบออกหากินมากที่สุด มี 2 ช่วง คือ 9.00-11.00 น. และ 13.00-15.00 น.

 

รู้หรือไม่? เราสามารถเป็นโรคไข้เลือดออกได้ถึง 4 ครั้ง

   คนส่วนใหญ่คิดว่าโรคไข้เลือดออกเกิดจากไวรัสเด็งกี่เพียงแค่ชนิดเดียว แต่ในความเป็นจริงแล้วไวรัสเด็งกี่นั้นมีถึง 4 ชนิด ซึ่งในแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน หลังจากที่เราติดเชื้อไวรัสเด็งกี่ชนิดหนึ่งแล้ว ร่างกายจะมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสเด็งกี่ ชนิดนั้นเท่านั้น เรายังสามารถเป็นโรคไข้เลือดออกจากไวรัสเด็งกี่ที่เหลืออีก 3 ชนิดได้ และมีความเป็นไปได้ที่ในคนๆ เดียว จะสามารถเป็นโรคไข้เลือดออกได้ถึง 4 ครั้ง ซึ่งนั่นมาจากการที่ติดเชื้อไวรัสเด็งกี่ที่ต่างชนิดกัน นอกจากนี้ การติดเชื้อไวรัสเด็งกี่ในครั้งต่อไปมีโอกาสที่จะมีอาการรุนแรงมากกว่าที่เคยติดเชื้อในครั้งแรก

  • ช่วงอายุที่มักพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก
    จากการเก็บข้อมูลในช่วง พ.ศ. 2557-2561 โดยกรมควบคุมโรค ช่วงอายุที่พบผู้ป่วยไข้เลือดออกมากที่สุด คือ 15-44 ปี รองลงมา คือ 10-14 ปี
  • ความชุกของโรคไข้เลือดออกในประเทศไทย
    จากการศึกษา พบว่า ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 9 ปีขึ้นไป พบว่าเคยติดเชื้อโรคไข้เลือดออกมาแล้วมากกว่า 80% และพบจำนวนผู้ที่เคยเป็นโรคไข้เลือดออกมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น

 

อาการของไข้เลือดออก แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ

ระยะแรก (ระยะไข้สูง)
ระยะนี้มักไม่ค่อยมีอาการจำเพาะ เด็กจะมีไข้สูงและเป็นหลายวัน (ประมาณ 5-6 วัน) โดยอาจมีอาการหวัด ปวดเมื่อยตัว คลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย ในช่วงฤดูไข้เลือดออก หากลูกมีไข้สูงหลายวัน คุณพ่อคุณแม่ควรนึกถึงการติดเชื้อไข้เลือดออกด้วยเสมอ ควรพาลูกไปพบแพทย์ ไม่ควรพยายามรักษาเอง และควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาลดไข้ประเภทแอสไพรินและไอบูโพรเฟน ซึ่งอาจทำให้ระคายเคืองกระเพาะอาหารและเกิดปัญหาเลือดออกในกระเพาะอาหาร รวมถึงเลือดไม่แข็งตัวเมื่ออาการของไข้เลือดออกเป็นรุนแรงถึงขั้นระยะช็อกได้

ระยะวิกฤติ (ระยะ 3 วันอันตราย อาจเสี่ยงกับอาการช็อกได้)
ผู้ป่วยมักมีไข้มาแล้วหลายวัน อาการทั่วไปจะดูเพลียมากขึ้น อาจมีอาการปวดเมื่อยตัวมากขึ้น รวมถึงมีอาการปวดท้อง ท้องอืด เบื่ออาหาร ผิวหน้า-ฝ่ามือ-ฝ่าเท้าดูแดงๆ ในช่วงนี้เด็กบางคนอาจพูดคุยได้ดี แต่ก็ยังต้องคอยตรวจวัดชีพจรและความดันโลหิตเป็นช่วงๆ บ่อยๆ ร่วมกับดูปริมาณน้ำและอาหารที่รับประทานเข้าไปเทียบกับปริมาณปัสสาวะที่ออกมาในแต่ละช่วงของวัน ในบางรายอาจมีอาการท้องอืดมากขึ้น กระสับกระส่าย ปลายมือปลายเท้าเย็น ร่วมกับไข้ที่ลดลงเป็นอุณหภูมิปกติ ซึ่งอาจทำให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจผิดว่าเด็กกำลังจะหายจากไข้เลือดออกแล้ว ทั้งๆ ที่เด็กอาจกำลังเข้าสู่ระยะช็อกที่จะมีความรุนแรงตามมาในอีกไม่กี่ชั่วโมงนี้ก็ได้

ระยะฟื้นตัว
เป็นระยะหลังไข้ลงโดยไม่มีอาการช็อก โดยเกล็ดเลือดจะเริ่มกลับสูงขึ้น ชีพจรและความดันโลหิตเริ่มคงที่ดีขึ้น ปัสสาวะเริ่มออกมากขึ้น การไหลเวียนของเลือดและน้ำเหลืองที่เคยซึมรั่วไปอยู่ในส่วนอื่นๆ ของร่างกายกลับเข้าสู่ระบบการไหลเวียนของเลือดเพิ่มขึ้น ทำให้อวัยวะต่างๆ เริ่มทำงานเป็นปกติ จากนั้นในอีก 48-72 ชั่วโมงต่อมาจะเข้าสู่ระยะที่เรียกว่าหายเป็นปกติ ผู้ป่วยจะเริ่มมีความอยากอาหารบ้าง อาการปวดท้องและท้องอืดจะดีขึ้น รู้สึกมีแรงมากขึ้น มักพบผื่นแดงและคันตามฝ่ามือและฝ่าเท้าโดยไม่มีการลอกตัวของผิวหนัง

โรคไข้เลือดออก ไม่ได้พบเพียงเฉพาะในเด็กเท่านั้น แต่สามารถพบได้ในทุกกลุ่มอายุ อาการของโรคไข้เลือดออกแม้จะไม่รุนแรง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจนทำให้เสียชีวิตได้ โดยเราสามารถสังเกตอาการของโรคไข้เลือดออกได้ ดังนี้

1. มีไข้สูง 39 – 40 องศา เกิน 2 วัน
2. ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว
3. อ่อนเพลีย ซึมลง
4. ปัสสาวะสีเข้ม
5. เบื่ออาหาร อาเจียน
6. อาจพบจ้ำเลือดหรือจุดเลือดตามผิวหนัง
7. อุจจาระมีสีดำ

 

การป้องกันโรคไข้เลือดออก

  • ป้องกันไม่ให้ยุงกัด โดยนอนในมุ้งแม้ในเวลากลางวัน
  • กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในบ้าน รวมทั้งบริเวณรอบๆบ้าน
  • ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำในภาชนะที่ขังน้ำทุก 7 วัน เช่น แจกัน
  • กำจัดภาชนะแตกหักที่ขังน้ำ เช่น ยางรถเก่า กระถาง
  • เลี้ยงปลากินลูกน้ำในอ่างบัวหรือแหล่งน้ำอื่นๆ
  • ปิดฝาโอ่งหรือภาชนะอื่นๆให้มิดชิดหรือใส่ทรายเคมี กำจัดลูกน้ำในภาชนะที่เก็บน้ำไว้ใช้ใส่เกลือหรือน้ำส้มสายชูลงในจานรองขาตู้กับข้าวสัปดาห์ละครั้ง
  • ใส่ทรายอะเบต 1% ลงในตุ่มน้ำและภาชนะกักเก็บน้ำในอัตราส่วน 10 กรัมต่อน้ำ 100 ลิตรควรเติมใหม่ทุก 2-3 เดือน น้ำที่ใส่ทรายอะเบตสามารถใช้ดื่มกินได้อย่างปลอดภัย
  • ”เครื่อvดักยุv” ไร้สาsเคมี ไร้กลิ่u ไร้เสียv https://smileshopint.com/
    🚚สิ้นค้าพร้อมจัดส่ง
    📌 การใช้งาuง่ายสุดๆ📌
    🔥🔥🔥 สั่vเลยตอuนี้…คุ้มสุดๆ 🔥🔥🔥
    💥💥💥พิเศษ 2 ชิ้น ส่งฟรีไปเลยค่ะ💥💥💥
    *** ราEละเอียดสิuค้า ***
    -ไร้สาsเคมีที่เป็นพิษ
    ออกแบบมาให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยไม่ใช้หลอดปsอทหรือสาsเคมีผลิตภัณฑ์รับปsะกันความปลอดภัยที่เหมาะสม สำหรับnารกหญิงตั้งคssภ์และผู้สูvอายุ
    -เบาสบาย เหมาะแก่การwกwา
    มอบความสะดวกสบายเหมาะสำหรับยามท่องเที่ยวwกwาได้ทุกที่
    -ระบบไร้เสียvรบกวu
    ปsาศจากเสียvรบกวu เหมาะกับกาsใช้ภายในบ้าu สร้าvบรรยากาศที่สvบและสบายแก่ผู้ใช้
    🍃คุณสมบัติเครื่องฟอกอากาศ AIR PURA 🍃
    📌 กำจัดฝุ่น PM2.5 ควันบุหรี่ เชื้อรา แบคทีเรีย กลิ่นเหม็น กลิ่นอับ จุลินทรีย์
    📌 ทำลายเชื้อโรคต่างๆ เชื้อไวรัส สารก่อภูมิแพ้
    📌แผ่นกรอง 4 ชั้น เพื่ออากาศที่บริสุทธิ์ ระบบกรอง HEPA + Activated Carbon + Negative ion
    📌 มีAnion ปล่อยประจุไฟฟ้าลบ ช่วยในการดูดจับฝุ่นละอองไม่ให้ฟุ้งกระจายไปในอากาศ
    📌เหมาะสำหรับห้องขนาด 1-35 ตารางเมตร
    📌มาพร้อม รีโมทคอนโทรล และ คู่มือการใช้งานภาษาอังกฤษ
    📌หน้าจอสัมผัส Touch Screen มีโหมด Sleep
    📌เสียงเบาเพียง 35 dB ไม่รบกวนการนอน
    📌แสดงผลค่าอากาศบริสุทธิ์แบบเรียลไทม์
    📌ดีไซน์สวยงามดีต่อใจ
    📌เคลื่อนย้ายสะดวกจับถนัดมือ
    📌ขนาด 330*220*505 mm.
    📌น้ำหนัก 6.5 kg.

 

 

Leave a Reply

Your email address will not be published.